วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประเด็นร้อนล่าสุดที่สั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีน


จากประเด็นข่าว  “ ถึงยุคแฮกเกอร์ทำเงิน” นั้น นับเป็นประเด็นร้อนล่าสุดที่สั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีนอีกครั้งบริษัทรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ชื่อดังของสหรัฐระบุชัดเจนว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (พีแอลเอ) หรือกองทัพรัฐบาลกรุงปักกิ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติจารกรรมข้อมูลองค์กรใหญ่ๆทั่วโลก การกล่าวหานี้น่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความไหวหวั่นของสหรัฐอเมริกา ต่อการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในซีกโลกตะวันออกของจีน นี่เป็นเพียงประเด็นหนึ่งในหลายๆประเด็นที่เกี่ยวกับการกล่าวหาจีนในเรื่องต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างจีนสหรัฐก็ยังคงราบรื่นตลอดมา อาจเป็นเพราะว่าจีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของสหรัฐหรือไม่ ที่ทำให้จีนต้องอะลุ่มอล่วยต่อลูกหนี้รายนี้เสมอมา การบริหารธุรกิจแบบจีนนี้ ลูกจีนเชื้อสายไทย หรือ คนไทยเชื้อสายจีน คงเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าเหตุใดเถ้าแก่หรือเจ้าของบริษัทใหญ่ๆ จึงเอาใจลูกจ้างหรือคนงานที่ทำงานดีๆ หรือแม้กระทั่งลูกหนี้เพื่อให้เค้าไม่หนีหนี้เรานั้นต้องทำอย่างไร ?
ถึงยุค"แฮกเกอร์"ทำเงิน
โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ
นับเป็นประเด็นร้อนล่าสุดที่สั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีนอีกระลอกใหญ่ ภายหลัง แมนเดียนต์ คอร์เปอเรชัน บริษัทรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ชื่อดังของสหรัฐ ระบุชัดว่า กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (พีแอลเอ) หรือกองทัพรัฐบาลกรุงปักกิ่ง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการจารกรรมข้อมูลขององค์กรยักษ์ใหญ่ทั่วโลกกว่า 141 แห่ง นับตั้งแต่ปี 2549
ในจำนวนนั้นมีเอกชนสัญชาติสหรัฐในหลายอุตสาหกรรมตกเป็นเหยื่อ 115 แห่ง ทั้งอุตสาหกรรมการบิน ดาวเทียมและการสื่อสาร พลังงาน ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงทวิตเตอร์ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ชื่อดัง และล่าสุด ไมโครซอฟท์ บริษัทซอฟต์แวร์ระดับโลก ที่แม้ว่าข้อมูลสำคัญไม่ได้ถูกโจรกรรมไป ทว่าการถูกเจาะฐานข้อมูลได้สร้างความเสียหายต่อระบบขององค์กรต่างๆ รวมหลายล้านเหรียญสหรัฐ หลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งชี้ถึงร่องรอยการล้วงข้อมูลที่เกิดขึ้นต่อเอกชนอเมริกันนั้น มีต้นตออยู่ที่สำนักงานแห่งหนึ่งใจกลางย่านเศรษฐกิจผู่ตง นครเซี่ยงไฮ้ โดยอาคารดังกล่าวมีความสูง 12 ชั้น มีพนักงานกว่า 2,000 คน ทำหน้าที่ดูแลเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงถึง 1,000 ตัว ความเคลื่อนไหวดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการจารกรรมข้อมูลในปัจจุบัน ได้ถูกพัฒนาและปฏิวัติรูปแบบเข้าสู่ ยุคการโจรกรรมข้อมูลไซเบอร์เชิงพาณิชย์” (Commercial Cyberspying) หรือการขโมยข้อมูลบนโลกไซเบอร์ ที่มีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน โดยมีเป้า|ล้วงข้อมูลต่างๆ เพื่อความได้เปรียบทางการทหารและธุรกิจแล้ว เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของอาชญากรรมไซเบอร์ ที่เปลี่ยนจากยุคของแฮกเกอร์สมัครเล่นที่แอบขโมยข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิตจากในห้องนอน มาเป็นการโจรกรรมข้อมูลไซเบอร์เชิงพาณิชย์ ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนโดยตรง เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรในประเทศ” เกรแฮม คลูลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ชาวอังกฤษ กล่าว ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า องค์กรต่างชาติในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ตั้งแต่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตลอดจนถึงด้านซอฟต์แวร์ สามารถตัดลดต้นทุนด้านการวิจัยและการพัฒนาองค์กร ที่ต้องอาศัยทรัพยากรทั้งการเงิน แรงงาน และเวลาได้อย่างมหาศาล หากรู้ความลับในด้านต่างๆ เช่น ผลทดสอบการผลิตสินค้า สัญญาเจรจาต่อรอง รายละเอียดการควบรวมกิจการขององค์กรคู่แข่ง ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการประมูลแหล่งน้ำมัน ล่วงรู้ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณในการแข่งขันประกวดราคาที่องค์กรคู่แข่งจะประมูล ก็นับเป็นการอำนวยความสะดวกให้บริษัทนั้นๆ สามารถชนะการประมูลและควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอย่างในกรณีของจีน ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือความลับอื่นๆ ของบริษัทชาติตะวันตก ก็นับเป็นข้อมูลอย่างดีต่อองค์กรจีนที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์และต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และผงาดแถวหน้าทัดเทียมต่างชาติได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มการโจรกรรมข้อมูลเชิงพาณิชย์จะเริ่มแพร่ระบาดมากขึ้น แต่มีบริษัทต่างชาติเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่กล้าออกมายอมรับต่อสาธารณชนว่า บริษัทของตนถูกเจาะระบบ เพราะนอกจากจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลแล้ว ยังนับเป็นการชี้โพรงให้ตกเป็นเป้าโจมตีในอนาคตอีกด้วยหากบริษัทใดยอมรับว่าฐานข้อมูลของบริษัทถูกเจาะข้อมูล ก็จะส่งผลให้บริษัทนั้นๆ กลายเป็นเป้าของแฮกเกอร์ในทันที เพราะนั่นสะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนของบริษัท” กวอนซุกชุล ประธานบริษัทด้านความปลอดภัย คูวีเพีย อิงค์ ในกรุงโซล กล่าว แน่นอนว่า จนถึงขณะนี้กองทัพจีนยังคงยืนกรานปฏิเสธข้อกล่าวหาของแมนเดียนต์ พร้อมตอบโต้ว่าตำแหน่งที่อยู่ทางคอมพิวเตอร์ ที่ทางแมนเดียนต์พบร่องรอยว่าเป็นต้นตอการโจรกรรมข้อมูล อาจเป็นแอดเดรสที่ถูกแฮกเกอร์ต่างชาติกลุ่มอื่นเข้ามาสวมรอย เพื่อต้องการโยนความผิดให้ทางการจีน ขณะที่ แอสแตร์ แมคกิบบอน อดีตผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของรัฐบาลออสเตรเลีย กลับมองว่า ไม่เพียงแต่กองทัพจีนเท่านั้น ที่มีแนวโน้มให้การสนับสนุนปฏิบัติการจารกรรมบนโลกไซเบอร์ เพื่อหวังชิงผลประโยชน์จากบริษัทคู่แข่งท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าประเทศใดที่มีศักยภาพด้านทรัพยากรด้านไอที ก็ต่างปฏิบัติการด้านไซเบอร์เช่นเดียวกัน” แมคกิบบอน กล่าวทิ้งท้าย 
แหล่งข้อมูล:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น