วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผู้ใช้เน็ตจีนล่าสุด ยอดแตะครึ่งพันล้าน เตรียมขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโลก


ผู้ใช้เน็ตจีนล่าสุด ยอดแตะครึ่งพันล้าน เตรียมขึ้นแท่นอันดับ 1 ของโลก

ภาพจาก: BBC NEWS
สรุปข่าว:
จากรายงานสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตจีนฉบับล่าสุด ซึ่งจัดทำโดยศูนย์ข้อมูลสารสนเทศและโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแห่งชาติจีน ( China Internet Network Information Center – CNNIC ) ได้แสดงข้อมูลตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจีนจนถึงเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาว่า มีจำนวนถึง 591 ล้านคนแล้ว คิดเป็น 44.1 เปอร์เซนต์ของประชากรจีน โดยในช่วง 6เดือนแรกของปี 2256 พบผู้ใช้เพิ่มขึ้นถึง 26,560,000 คน เพิ่มขึ้น 2 เปอร์เซนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปลายปี 2555 และพบว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีบทบาทช่วยขยายการทำธุรกิจซื้อขายสินค้าออนไลน์ รวมถึงการใช้เว็ปไมโครบล็อค  ที่นับวันจะทวีความนิยมมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณฯ ต่างพากันออกโปรโมชั่นให้สอดคล้องกับความต้องการและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็ปเล็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังรายงานอีกว่า โทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นช่องทางหลักของชาวเน็ตจีน โดยพบว่า กลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจีนจำนวน 464 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้ใช้ทั้งหมด เข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยผ่าน โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งเมื่อเปรีบเทียบกับช่วงปลายปี 2555 พบว่าเพิ่มสูงขึ้น 43,790,000 คน สถานการณ์ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ทางการจีนเป็นกังวลกับความเสี่ยงของการใช้โซเชียลมีเดียและเว็ปไซต์สื่อสารอื่นๆ ในการสร้างความไม่สงบ ทำลายความมั่นคง ดังเช่นกรณีการปลุกเร้าการชุมนุมประท้วงของชาวอียิปต์และตูนีเซีย ปัจจุบันและระยะเวลาที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเข้มงวดมากในการเผยแพร่คลิปวีดีโอต่างๆ บนโลกออนไลน์ และขอร้องผู้ให้บริการเว็ปไซต์ต่างๆ ตรวจสอบคลิปวีดีโอ ก่อนโพสต์ขึ้นสู่สาธารณะ เพราะพบว่าคลิปวีดีโอจำนวนมากมีเนื้อหาผิดศีลธรรม สร้างความรุนแรงแก่ผู้ชมในโลกไซเบอร์จีนปัจจุบัน
แหล่งข่าว:

วิเคราะห์ข่าว

จากข่าวข้างต้นพบว่าสถิติการใช้อินเตอร์เนตของจีนมีเพิ่มขึ้นตลอดมา ซึ่งส่งผลกับยอดการใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มมากขึ้น การซื้อขายสินค้าออนไลน์ในจีนเฟื่องฟูพร้อมกับการเติบโตของการฉ้อโกงทางธุรกิจในโลกไซเบอร์มากขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากนี้สถิติดังกล่าวเป็นการรายงานจากองค์กรของจีน จึงเป็นข้อกังขาของหลายๆฝ่ายเกี่ยวกับตัวเลขที่รายงาน อย่างไรก็ตามสำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งก็นำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่ แม้จีนจะเปิดประเทศนานแล้ว แต่เรื่องการให้เสรีภาพแก่ประชาชนและชาวต่างชาติในบางประเด็น ยังเป็นปัญหาเช่น กรณีปัญหากับบริษัท Google ของสหรัฐ และต่อมาก็จำกัดสิทธิ์ในการใช้ facebook ในจีนเป็นต้น

วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2556

สีจิ้นผิง ยืนยันกระชับสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ


ประธานาธิบดีคนใหม่ของจีน ให้สัญญาจะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างจีน กับสหรัฐฯให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมกับระบุว่า ทั้งสองประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกันมหาศาล นายสีจิ้นผิง ประธานาธิบดีคนใหม่ของจีน เริ่มภารกิจแรกทางการทูต หลังเข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศอย่างเป็นทางการตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยการต้อนรับการเดินทางเยือนกรุงปักกิ่ง ของนายแจ็ค ลิว รัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนใหม่ของสหรัฐฯ การพบกันครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการโจมตีกันเกี่ยวกับสงครามบนโลกไซเบอร์ หลังจากสหรัฐฯ กล่าวหารัฐบาลจีน เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเจาะระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อล้วงข้อมูลจากบริษัทชื่อดังหลายแห่งในสหรัฐฯ ขณะที่จีนตอบโต้ว่า ระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลจีน ก็ตกเป็นเป้าของการจารกรรมจากกลุ่มแฮกเกอร์ในสหรัฐฯเช่นกัน  อย่างไรก็ตาม ระหว่างการหารือกันของทั้งคู่ นายสีจิ้นผิง กล่าวแสดงความหวังว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีน จะสามารถแก้ไขประเด็นความขัดแย้งต่างๆ ระหว่างกันได้ในระยะยาว เนื่องจากทั้งสองประเทศ มีผลประโยชน์ร่วมกันเป็นจำนวนมหาศาล  ขณะที่นายลิว เรียกร้องให้จีน ร่วมมือกับสหรัฐฯ ในฐานะสองชาติที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ดำเนินมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของโลก และลดมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน สำหรับภารกิจของนายลิว ระหว่างการเยือนจีนครั้งนี้ คาดว่าจะเน้นที่การกดดันจีน ให้ยุติสงครามไซเบอร์ที่มีเป้าหมายในสหรัฐฯ ตลอดจนเรียกร้องให้จีน ผ่อนคลายมาตรการควบคุมค่าเงินหยวน รวมถึงเปิดทางให้สินค้าสหรัฐฯ สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดของจีนได้มากขึ้น และต้องการให้จีน ปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาภายในประเทศให้เข้มงวดยิ่งขึ้นอีกด้วย
19 มีนาคม 2556 เวลา 15:51 น.
สี จิ้นผิง ควงภริยาเยือนรัสเซียถกเรื่องพลังงาน
วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556 เวลา 16:15 น.

นายสี ผู้นำจีนคนใหม่ ควงศรีภรรยา เดินทางถึงรัสเซียแล้ว ระหว่างเยือนต่างประเทศครั้งแรก และเตรียมเข้าประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ในแอฟริกาใต้ด้วย
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เดินทางถึงรัสเซียแล้ว ในการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดีจีน โดยนายสี มีกำหนดพบหารือกับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ซึ่งผู้นำมหาอำนาจทั้ง จะหารือกันเรื่องข้อตกลงด้านพลังงานและการลงทุน ผู้นำคนใหม่ของจีน กล่าวก่อนออกเดินทางเยือนหมีขาวว่า ประเทศทั้ง เป็น หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด” ซึ่งพูดจาภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ นายสีจะเดินทางเยือนแทนซาเนีย แอฟริกาใต้ และสาธารณรัฐคองโกด้วยในระหว่างการทัวร์ต่างประเทศครั้งแรกของเขา ซึ่งจะมีไปจนถึงวันที่ 30 มีนาคม
โดยในการเยือนแอฟริกาใต้นั้น นายสีจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว หรือบริกส์ ครั้งที่ จากวันที่ 26-27 มีนาคมนี้ ซึ่งกลุ่มบริกส์ประกอบด้วยสมาชิก ประเทศ คือบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริกาใต้ นางเผิง ลี่หยวน ภริยาของนายสี ซึ่งเป็นนักร้องประจำวงดนตรีของกองทัพที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ร่วมเดินทางไปด้วย
การเลือกเยือนรัสเซียเป็นจุดหมายปลายทางแรกของนายสี ถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ และเป็นการเคลื่อนไหวหนึ่งจากจีนเพื่อตอบโต้สหรัฐที่เน้นนโยบายบ่ายหน้าสู่เอเชีย ทั้งนี้ รัสเซียเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตพลังงานใหญ่ที่สุดของโลก และจีนก็เป็นประเทศผู้บริโภคพลังงานใหญ่ที่สุดของโลก การค้าทวิภาคีกำลังขยายตัว โดยเมื่อปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่าสูงสุดถึง 88,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
http://www.dailynews.co.th/world/192371
วิเคราะห์ข่าวภารกิจแรกของประธานาธิบดีจีนในการเยือนรัสเซียและการกระชับความสัมพันธ์ของจีนสหรัฐ แสดงให้เห็นว่า จีนเห็นความสัมพันธ์ของมหาอำนาจทั้งสองประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐหรือว่ารัสเซีย สำหรับรัสเซียนั้น ผู้นำคนใหม่ของจีน กล่าวก่อนออกเดินทางเยือนรัสเซียว่า ประเทศทั้ง เป็น หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด การเยือนรัสเซียเป็นแห่งแรก สื่อให้เห็นการเคลื่อนไหวของจีนว่าเป็นการตอบโต้สหรัฐที่เน้นนโยบายมุ่งหน้าสู่เอเชียหรือไม่สำหรับกรณีกระชับความสัมพันธ์ของจีนกับสหรัฐนั้น จากข่าวพบว่านายสีจิ้นผิง ได้กล่าวแสดงความหวังว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีน จะสามารถแก้ไขประเด็นความขัดแย้งต่างๆ ระหว่างกันได้ในระยะยาว เนื่องจากทั้งสองประเทศ มีผลประโยชน์ร่วมกันเป็นจำนวนมหาศาล นี่ก็เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แม้จะออกมาตอบโต้สหรัฐอย่างรุนแรงในกรณีที่ถูกกล่าวหาว่าจีนเป็นภัยในโลกไซเบอร์ก็ตาม จีนก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับสหรัฐให้คงอยู่ต่อไป เนื่องจากมีผลประโยชน์ร่วมกันนั่นเอง ประเด็นนี้มองว่าจีนคงต้องประนีประนอมเพราะอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้นั่นเอง ในขณะที่ลูกหนี้ออกมาโวยวายกล่าวหาในเรื่องต่างๆ ตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสินค้าไม่ได้คุณภาพบ้าง  ล่าสุดก็เรื่องสนับสนุนการจารกรรมบนโลกไซเบอร์เป็นต้น งานนี้เจ้าหนี้จะอดทนได้นานแค่ไหน คงต้องติดตามกันต่อไป

สี จิ้น ผิง ลั่นฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ชนชาติจีน


 การประชุมสภาตรายางจีนปิดฉากลงเมื่อวันอาทิตย์ ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงแสดงสุนทรพจน์หลังรับตำแหน่งครั้งแรก ให้คำมั่นจะต่อสู้เพื่อฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของชาติ เรียกร้องภาครัฐลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย-ต้านคอรัปชั่น ส่วนนายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียงเปิดแถลงข่าว ยืนยันการทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืนคืองานสำคัญอันดับแรก พร้อมแสดงความสัมพันธ์แบบใหม่กับสหรัฐ
    ประธานาธิบดีสีใช้เวลากล่าวสุนทรพจน์ปิดประชุมสภาผู้แทนประชาชนจีน (เอ็นพีซี) ราว 25 นาทีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม โดยนอกจากการเน้นย้ำว่าจะสานต่องานของผู้นำคนก่อนๆ และขอบคุณประธานาธิบดีหูจิ่นเทาแล้ว สีประกาศว่าเขาจะต่อสู้เพื่อฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของชนชาติจีน และได้เรียกร้องให้สมาชิกราว 3,000 คนภายในมหาศาลาประชาชนพยายามอย่างแรงกล่าวเพื่อสืบสานการฟื้นฟูความยิ่งใหญ่และความฝันของชาวจีนให้เป็นจริงต่อไป
    ข้อเรียกร้องฟื้นฟูประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสองของโลกเป็นดั่งคาถาที่สีท่องมาตลอดนับแต่สีขึ้นสืบทอดตำแหน่งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว แต่เขาไม่เคยลงลึกถึงรายละเอียดของการฟื้นฟูดังกล่าว ในสุนทรพจน์ปลุกความรักชาติ สีได้เรียกร้องความเป็นเอกภาพแห่งชาติและเตือนกองทัพให้ปรับปรุงขีดความสามารถของตน เพื่อ "ชนะการศึกและปกป้องอธิปไตยและเสถียรภาพของประเทศ" อันเป็นการส่งสัญญาณในทีว่า เขาจะเดินหน้านโยบายการต่างประเทศแบบแข็งกร้าวมากขึ้น
    สีกล่าวถึงปัญหาคอรัปชั่นที่ทำให้ประชาชนเอือมระอาและโกรธแค้นรัฐบาลด้วยว่า เป็นภัยคุกคามอำนาจของพรรค และขอให้สมาชิกทั้งหลายต่อต้านสุขนิยมและการใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย ด้านเศรษฐกิจเขาย้ำว่าการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็น
    สุนทรพจน์ของสีเป็นการปิดประชุมเอ็นพีซียาวนาน สัปดาห์ลงอย่างเป็นทางการ หลังจากเมื่อวันเสาร์ สภาได้อนุมัติการแต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่หลายกระทรวง ซึ่งรวมถึง หวังอี้ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ และโหลวจี้เหว่ย เป็นรัฐมนตรีคลัง ส่วนรองนายกรัฐมนตรีประกอบด้วย จางเกาลี่หลิวย่านตงหวังหยาง และหม่าไค
    ต่อจากนั้น หลี่ ผู้นำหมายเลข ของจีน ได้เปิดแถลงข่าวเป็นครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และให้ผู้สื่อข่าวทั้งในและต่างประเทศถามคำถามที่มีการคัดกรองล่วงหน้า กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาเกือบ ชั่วโมง หลี่เน้นตั้งแต่เริ่มต้นการแถลงของเขาว่า งานสำคัญลำดับแรกของเขาคือดำรงการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยหัวใจสำคัญคือการเสริมสร้างการปฏิรูปเศรษฐกิจ
    หลี่กล่าวถึงช่องว่างรายได้ในประเทศและความโกรธแค้นของประชาชนต่อปัญหาการคอรัปชั่นด้วย โดยรับปากจะปฏิรูปรัฐบาลกลางลด "ความความสุรุ่ยสุร่าย" และการเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในผลประโยชน์ ประการหลังเขาไม่ได้ระบุชื่อองค์กรหรือวิสาหกิจใดเป็นการเฉพาะ
    "รัฐบาลควรเป็นผู้พิทักษ์ความเป็นธรรมในสังคม เราต้องทำงานหนักเพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันสำหรับทุกคน" หลี่กล่าว "เพื่อที่ว่าประชาชนที่ทำงานหนักก็จะได้รับการตอบแทนที่สมควร ไม่ว่าคุณจะสร้างความมั่งคั่งจากสิ่งใด เป็นรัฐวิสาหกิจบริษัทเอกชนหรือธุรกิจปัจเจก ตราบใดที่แข่งขันอย่างเท่าเทียมกันและทำธุรกิจอย่างซื่อสัตย์และโปร่งใด คุณก็จะประสบความสำเร็จ" 
    ด้านนโยบายต่างประเทศ เขากล่าวว่า การพัฒนาความสัมพันธ์แบบใหม่กับสหรัฐถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อสันติภาพในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และว่าสองชาติมหาอำนาจนี้ควรร่วมมือกันเพื่อให้มั่นใจว่าผลประโยชน์ที่มีร่วมกันจะอยู่เหนือกว่าความขัดแย้ง ขณะเดียวกันหลี่กล่าวด้วยว่าสหรัฐควรเลิกกล่าวหาทางการจีนว่าเกี่ยวข้องกับการโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานราชการและเอกชนของสหรัฐได้แล้ว เพราะเป็นคำกล่าวหาที่ "ไร้หลักฐาน".

 แหล่งข่าวไทยโพสต์  18 มีนาคม 2556

วิเคราะห์ข่าวจากรายงานข่าวพบว่า ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ได้กล่าวสุนทรพจน์เพื่อปลุกความรักชาติ สีได้เรียกร้องความเป็นเอกภาพแห่งชาติและเตือนกองทัพให้ปรับปรุงขีดความสามารถของตน เพื่อ "ชนะการศึกและปกป้องอธิปไตยและเสถียรภาพของประเทศ" อันเป็นการส่งสัญญาณในทีว่า เขาจะเดินหน้านโยบายการต่างประเทศแบบแข็งกร้าวมากขึ้น วิธีการแบบนี้ไม่แตกต่างจากการที่เราได้ยินเสียงเพลงรักชาติ ที่ใช้ในการปลุกเร้าประชาชนให้รักชาติเพื่อสร้างความสามัคคีในชาติของตน สำหรับในกรณีของท่านประธานาธิบดีสีจิ้นผิงแล้ว เราจะพบว่าท่านมีนักร้องเพลงรักชาติที่มีชื่อเสียงโด่งดังในประเทศจีนเป็นคนคู่เคียงกายอยู่ ส่วนใน นายหลี่ เค่อเฉียน นายกรัฐมนตรีจีน ผู้นำหมายเลขสอง ก็ให้ความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และทั้งสองท่านย้ำถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น ด้านนโยบายต่างประเทศทั้งสีจิ้นผิงและหลี่เคอเฉียนเน้นการพัฒนาความสัมพันธ์กับสหรัฐ ซึ่งจำเป็นต่อสันติภาพในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และว่าทั้งจีนและสหรัฐควรมั่นใจในผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อขจัดความแย้งที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามนายหลี่ก็ยังย้ำให้สหรัฐเลิกกล่าวหาทางการจีนว่าเกี่ยวข้องกับการโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานราชการและเอกชนของสหรัฐได้แล้ว เพราะเป็นคำกล่าวหาที่ "ไร้หลักฐาน".

นายกฯ ใหม่จีนขอให้จีน-สหรัฐยุติสงครามน้ำลายเรื่องแฮกคอมพิวเตอร์




By สำนักข่าวไทย TNA News | 17 มี.ค. 2556 14:16
ปักกิ่ง 17 มี.ค.-นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีน ระบุว่าจีนและสหรัฐควรหลีกเลี่ยงการกล่าวหากันโดยไร้มูลได้แล้ว เรื่องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ และการเจาะระบบ หรือแฮกระบบคอมพิวเตอร์ของอีกฝ่าย นายกรัฐมนตรีหลี่กล่าวระหว่างการแถลงข่าววันนี้ ซึ่งเป็นวันปิดการประชุมประจำปีของสภาประชาชนแห่งชาติว่า เขารู้สึกได้ว่ามีการทึกทักไปเองเรื่องคนผิดในการแฮกระบบคอมพิวเตอร์ แต่ละฝ่ายไม่ควรกล่าวหากันโดยไร้มูล และควรทุ่มเทเวลาให้มากขึ้นในการทำสิ่งที่ทำได้จริงเพื่อสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เรื่องนี้เป็นปัญหาระดับโลก จีนเองก็ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีในโลกไซเบอร์เช่นกัน จีนไม่สนับสนุนและคัดค้านการกระทำดังกล่าว นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของจีนกล่าวเรื่องนี้หลังจากเจ้าหน้าที่อเมริกันกล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า นายแจ็ค ลิว รัฐมนตรีคลังสหรัฐ จะกดดันให้จีนสอบสวนและหยุดยั้งการโจมตีบริษัทอเมริกันผ่านโลกไซเบอร์ในระหว่างที่เขาจะเยือนจีนในสัปดาห์นี้ ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ ได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือระหว่างการสนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน เมื่อวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันที่นายสีรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ.-สำนักข่าวไทย

วิเคราะห์ข่าว   นอกจาก ประธานาธิบดีคนใหม่ของจีน สีจิ้น ผิง ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้ว จีนยังมี นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ซึ่งออกโรงมาตอบโต้การกล่าวหาของสหรัฐอเมริกา ด้วยการกล่าวว่า เขารู้สึกได้ว่ามีการทึกทักกล่าวหาคนผิดในการแฮกระบบคอมพิวเตอร์ของโลกไซเบอร์ ซึ่งความจริงแล้วแต่ละฝ่ายไม่ควรกล่าวหากันโดยไร้มูลเหตุ และควรทุ่มเทเวลาให้มากขึ้นในการสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ ความจริงเรื่องนี้เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่นับวันยิ่งทวีความเสียหายมากขึ้น จนกระทั่งผู้นำของทั้งสองประเทศต้องออกมาตำหนิซึ่งกันและกัน ตามข่าวที่เสนอมานั้นจะเห็นว่ามีแนวทางที่ผู้นำทั้งสองประเทศจะปรึกษาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต


วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

จีนและสหรัฐอเมริกากับสงครามการโจมตีในโลกไซเบอร์




จากรายงานและวิเคราะห์ข่าว ของ เจอร์รี่ บอนคาวสกี พบว่าจีนหันไปใช้การโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2013 ที่ผ่านมา สอดคล้องกับข่าวล่าสุดของ CNN และ REUTERS ที่เสนอข่าวว่า ผู้นำประเทศสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา ออกมาแสดงความวิตกกังวล ตำหนิจีนในประเด็นข้อกล่าวหาการสนับสนุนให้เกิดการจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ ในขณะที่ทางการจีนออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว กระทรวงกลาโหมจีนออกแถลงการณ์ฉบับหนึ่งว่า "กองทัพบกจีนไม่เคยให้การสนับสนุนใด ๆ แก่การเจาะระบบสารสนเทศ คำกล่าวหาดังกล่าวขาดความเป็นมืออาชีพและไม่ถูกต้อง... จีนห้ามการกระทำทั้งหมดที่เป็นการจารกรรมทางไซเบอร์ รวมทั้งการเจาะระบบ และรัฐบาลจีนปราบปรามการกระทำเหล่านี้อย่างจริงจังเสมอ" และหลังจากประธานาธิบดี บารัค โอบามา แสดงความวิตกผ่าน CNN พร้อมข้อกล่าวหา ทางการจีนก็ออกมาโต้ตอบทาง  Reuters ว่าการกล่าวหากันไปมา ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับฝ่ายใดเลย พร้อมทั้งแนะนำว่า สงครามทางวาจาที่กล่าวหากันนั้น ควรหยุดได้แล้ว และควรร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น  จากหลายๆกระแสพบว่า บ้างก็ว่าสหรัฐฯเป็นจารกรรมเนื่องจากมีเทคโนโลยีชั้นสูง ในขณะที่จีนก็โต้ตอบว่าตนเองเป็นเหยื่อของการจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์สูงสุด บ้างก็ว่าร่องรอยการจารกรรมนั้นมีที่มาจากรัสเซีย แต่อย่างไรก็ตามทางการจีนออกมาปฏิเสธและยืนยันว่าไม่เคยสนับสนุนให้มีการขโมยข้อมูลทางไซเบอร์ พร้อมกันนี้ยังต่อต้านการกระทำดังกล่าวด้วย ข่าวล่าสุดเสนอว่า หลังจากที่บารัค โอบามา พบและปรึกษาหารือกับผู้นำบริษัทคอมพิวเตอร์ชื่อดังอย่าง apple และอื่นๆ นั้น ตามข่าวว่าบารัค โอบามา จะคุยเรื่องนี้กับประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ที่เพิ่งรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการวานนี้
แหล่งข้อมูลhttp://www.bbc.co.uk/news/world-us-canada-21772596
http://www.reuters.com/article/2013/03/17/us-china-parliament-hacking-idUSBRE92G02320130317?feedType=RSS&feedName=topNews&utm_source=feedburner&utm_

วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประเด็นร้อนล่าสุดที่สั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีน


จากประเด็นข่าว  “ ถึงยุคแฮกเกอร์ทำเงิน” นั้น นับเป็นประเด็นร้อนล่าสุดที่สั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีนอีกครั้งบริษัทรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ชื่อดังของสหรัฐระบุชัดเจนว่ากองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (พีแอลเอ) หรือกองทัพรัฐบาลกรุงปักกิ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติจารกรรมข้อมูลองค์กรใหญ่ๆทั่วโลก การกล่าวหานี้น่าเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความไหวหวั่นของสหรัฐอเมริกา ต่อการผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในซีกโลกตะวันออกของจีน นี่เป็นเพียงประเด็นหนึ่งในหลายๆประเด็นที่เกี่ยวกับการกล่าวหาจีนในเรื่องต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างจีนสหรัฐก็ยังคงราบรื่นตลอดมา อาจเป็นเพราะว่าจีนเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของสหรัฐหรือไม่ ที่ทำให้จีนต้องอะลุ่มอล่วยต่อลูกหนี้รายนี้เสมอมา การบริหารธุรกิจแบบจีนนี้ ลูกจีนเชื้อสายไทย หรือ คนไทยเชื้อสายจีน คงเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าเหตุใดเถ้าแก่หรือเจ้าของบริษัทใหญ่ๆ จึงเอาใจลูกจ้างหรือคนงานที่ทำงานดีๆ หรือแม้กระทั่งลูกหนี้เพื่อให้เค้าไม่หนีหนี้เรานั้นต้องทำอย่างไร ?
ถึงยุค"แฮกเกอร์"ทำเงิน
โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ
นับเป็นประเด็นร้อนล่าสุดที่สั่นคลอนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและจีนอีกระลอกใหญ่ ภายหลัง แมนเดียนต์ คอร์เปอเรชัน บริษัทรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ชื่อดังของสหรัฐ ระบุชัดว่า กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (พีแอลเอ) หรือกองทัพรัฐบาลกรุงปักกิ่ง เป็นผู้อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการจารกรรมข้อมูลขององค์กรยักษ์ใหญ่ทั่วโลกกว่า 141 แห่ง นับตั้งแต่ปี 2549
ในจำนวนนั้นมีเอกชนสัญชาติสหรัฐในหลายอุตสาหกรรมตกเป็นเหยื่อ 115 แห่ง ทั้งอุตสาหกรรมการบิน ดาวเทียมและการสื่อสาร พลังงาน ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงทวิตเตอร์ ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ชื่อดัง และล่าสุด ไมโครซอฟท์ บริษัทซอฟต์แวร์ระดับโลก ที่แม้ว่าข้อมูลสำคัญไม่ได้ถูกโจรกรรมไป ทว่าการถูกเจาะฐานข้อมูลได้สร้างความเสียหายต่อระบบขององค์กรต่างๆ รวมหลายล้านเหรียญสหรัฐ หลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งชี้ถึงร่องรอยการล้วงข้อมูลที่เกิดขึ้นต่อเอกชนอเมริกันนั้น มีต้นตออยู่ที่สำนักงานแห่งหนึ่งใจกลางย่านเศรษฐกิจผู่ตง นครเซี่ยงไฮ้ โดยอาคารดังกล่าวมีความสูง 12 ชั้น มีพนักงานกว่า 2,000 คน ทำหน้าที่ดูแลเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงถึง 1,000 ตัว ความเคลื่อนไหวดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมการจารกรรมข้อมูลในปัจจุบัน ได้ถูกพัฒนาและปฏิวัติรูปแบบเข้าสู่ ยุคการโจรกรรมข้อมูลไซเบอร์เชิงพาณิชย์” (Commercial Cyberspying) หรือการขโมยข้อมูลบนโลกไซเบอร์ ที่มีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงิน โดยมีเป้า|ล้วงข้อมูลต่างๆ เพื่อความได้เปรียบทางการทหารและธุรกิจแล้ว เราก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของอาชญากรรมไซเบอร์ ที่เปลี่ยนจากยุคของแฮกเกอร์สมัครเล่นที่แอบขโมยข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิตจากในห้องนอน มาเป็นการโจรกรรมข้อมูลไซเบอร์เชิงพาณิชย์ ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนโดยตรง เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรในประเทศ” เกรแฮม คลูลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ชาวอังกฤษ กล่าว ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า องค์กรต่างชาติในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ตั้งแต่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ตลอดจนถึงด้านซอฟต์แวร์ สามารถตัดลดต้นทุนด้านการวิจัยและการพัฒนาองค์กร ที่ต้องอาศัยทรัพยากรทั้งการเงิน แรงงาน และเวลาได้อย่างมหาศาล หากรู้ความลับในด้านต่างๆ เช่น ผลทดสอบการผลิตสินค้า สัญญาเจรจาต่อรอง รายละเอียดการควบรวมกิจการขององค์กรคู่แข่ง ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการประมูลแหล่งน้ำมัน ล่วงรู้ข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณในการแข่งขันประกวดราคาที่องค์กรคู่แข่งจะประมูล ก็นับเป็นการอำนวยความสะดวกให้บริษัทนั้นๆ สามารถชนะการประมูลและควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอย่างในกรณีของจีน ข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือความลับอื่นๆ ของบริษัทชาติตะวันตก ก็นับเป็นข้อมูลอย่างดีต่อองค์กรจีนที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์และต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ และผงาดแถวหน้าทัดเทียมต่างชาติได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มการโจรกรรมข้อมูลเชิงพาณิชย์จะเริ่มแพร่ระบาดมากขึ้น แต่มีบริษัทต่างชาติเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ที่กล้าออกมายอมรับต่อสาธารณชนว่า บริษัทของตนถูกเจาะระบบ เพราะนอกจากจะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของบริษัท ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลแล้ว ยังนับเป็นการชี้โพรงให้ตกเป็นเป้าโจมตีในอนาคตอีกด้วยหากบริษัทใดยอมรับว่าฐานข้อมูลของบริษัทถูกเจาะข้อมูล ก็จะส่งผลให้บริษัทนั้นๆ กลายเป็นเป้าของแฮกเกอร์ในทันที เพราะนั่นสะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนของบริษัท” กวอนซุกชุล ประธานบริษัทด้านความปลอดภัย คูวีเพีย อิงค์ ในกรุงโซล กล่าว แน่นอนว่า จนถึงขณะนี้กองทัพจีนยังคงยืนกรานปฏิเสธข้อกล่าวหาของแมนเดียนต์ พร้อมตอบโต้ว่าตำแหน่งที่อยู่ทางคอมพิวเตอร์ ที่ทางแมนเดียนต์พบร่องรอยว่าเป็นต้นตอการโจรกรรมข้อมูล อาจเป็นแอดเดรสที่ถูกแฮกเกอร์ต่างชาติกลุ่มอื่นเข้ามาสวมรอย เพื่อต้องการโยนความผิดให้ทางการจีน ขณะที่ แอสแตร์ แมคกิบบอน อดีตผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันอาชญากรรมไซเบอร์ของรัฐบาลออสเตรเลีย กลับมองว่า ไม่เพียงแต่กองทัพจีนเท่านั้น ที่มีแนวโน้มให้การสนับสนุนปฏิบัติการจารกรรมบนโลกไซเบอร์ เพื่อหวังชิงผลประโยชน์จากบริษัทคู่แข่งท้ายที่สุดแล้ว ไม่ว่าประเทศใดที่มีศักยภาพด้านทรัพยากรด้านไอที ก็ต่างปฏิบัติการด้านไซเบอร์เช่นเดียวกัน” แมคกิบบอน กล่าวทิ้งท้าย 
แหล่งข้อมูล:

82% ของคนจีนมีโทรศัพท์มือถือใช้งานและบางจังหวัดมีโทรศัพท์มือถือมากกว่าจำนวนประชากร


การใช้งานโทรศัพท์มือถือในประเทศจีนมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในสิบปีที่ผ่านมา จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีน (MIITระบุว่าจีนพึ่งทำลายสถิติโลก โดยชี้ว่ามีผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือในจีนมากกว่า 1.1 พันล้านคน คิดเป็น 82.6% ของชาวจีนทั้งประเทศ (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 80%) อย่างไรก็ดีการเติบโตนี้ไม่ชัดเจนนักว่าอัตราการเติบโตของการใช้งานโทรศัพท์ในจีนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลกเมื่อไหร่ (อาจอยู่ในช่วงปี 2012) ขณะเดียวกันการใช้งาน 3G ในประเทศจีนก็เติบโตขึ้นด้วยเช่นกัน (ไม่มีที่ไหนที่อัตราการเติบโตมีมากถึง 82%) ซึ่งคนส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ  จากสถิติของ MIIT พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตมีอย่างต่อเนื่องและไม่มีทีท่าว่าจะลดลงในเร็วๆนี้ ใน เมืองใหญ่ๆ ของจีนก็เป็นเช่นเดียวกัน คือ จำนวนโทรศัพท์มือถือมีมากกว่าจำนวนประชากร โดยที่ปักกิ่งมีอัตราส่วนอยู่ที่ 157.2 เครื่องต่อ 100 คน,เซี่ยงไฮ้ก็ไม่ต่างกันมากนักซึ่งอยู่ที่ 128 เครื่องต่อ 100 คนที่มณฑลกวางตุ้ง  เจ้อเจียง และฝูเจี้ยน ก็เช่นเดียวกัน  แต่ที่น่าแปลกใจที่สุดคือเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน คือ อัตราส่วนอยู่ที่ประมาณ 100 เครื่องต่อ 100 คน (มีความเป็นไปได้เพราะบางคนอาจมีโทรศัพท์มากกว่า เครื่อง ใช้สำหรับที่ทำงานและที่บ้าน หรืออาจจะมีไว้ใช้งานในหลายเครือข่าย) การที่มองโกเลียในมีการใช้โทรศัพท์มือถือใกล้เคียงกับเมืองใหญ่ๆ เป็นสัญญาณให้เห็นว่าจังหวัดทางภาคตะวันตกของจีนกำลังได้รับการพัฒนาทางด้านโทรศัพท์มือถืออย่างมาก จึงไม่น่าแปลกใจถ้าภายใน ปีหรือ ปีนี้จีนจะมีโทรศัพท์มือถือมากกว่าจำนวนประชากร
แหล่งข้อมูล: ข่าวจาก Tech in Asia/ Jan 31, 2013

บทวิเคราะห์ข่าว:
มีแนวโน้มที่จีนจะครองตลาดมือถือโลกในเวลาอีกไม่นาน จากอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วทำให้เห็นว่าคนจีนมีความนิยมและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศบนสังคมเครือข่ายออนไลน์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าเมืองเล็กเมืองใหญ่มีการใช้เทคโนโลยีมือถืออย่างมากมาย เช่น มองโกเลียในเป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้เห็นว่าจังหวัดทางภาคตะวันตกของจีนได้รับความสนใจจากทั้งรัฐบาลและเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างอาเซียนเป็นต้น มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การวางแนวเส้นทางโลจิสติกส์จากจีนสู่อาเซียนหรืออาเซียนสู่จีน เป็นต้น การวางแนวทางในการพัฒนานี้เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างพื้นฐานในระบบเครือข่ายออนไลน์ อินเตอร์เนต ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับความต้องการของประชาชน และเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจ และความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนต่อไป

แนวโน้มใหม่ของการบริโภคจับจ่ายทางอินเตอร์เน็ตของชาวจีน




สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลข่าว จากการนำเสนอข่าวของ China Radio Online เรื่อง แนวโน้มใหม่ของการบริโภคจับจ่ายทางอินเตอร์เน็ตของชาวจีน ตอนที่ 1และ 2 นั้น ศูนย์ข่าวสารเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจีนรายงานทางสถิติว่า ในปี2012 การซื้อของออนไลน์ในจีนได้เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ขนาดและมูลค่าการสั่งซื้อได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก จือฟู่เป่าบริษัทซื้อของออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในจีน ได้รวบรวมข้อมูลการซื้อของออนไลน์ และพบว่า ผู้ซื้อของทางอินเตอร์เน็ตที่เกิดก่อนปี 1960 จะมีปริมาณการอุปโภคบริโภคทางอินเตอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มเกิดหลังปี 1980 เป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดว่า ปริมาณการอุปโภคบริโภคของกลุ่มที่เกิดก่อนปี 1960 จะมีกำลังซื้อมากกว่ากลุ่มที่เกิดรุ่นปี 80 และกลุ่มเกิดรุ่นปี 90 โดยทั่วไปมักจะมองว่ากลุ่มที่เกิดรุ่นปี 80 กับรุ่นปี 90 เป็นกลุ่มนิยมใช้อินเตรอร์เน็ตและเป็นกำลังซื้อหลักของการบริโภคทางอินเตอร์เน็ต แต่จากข้อมูลพบว่า กลุ่มเกิดก่อนปี 1960 มีการใช้จ่ายเงินทางอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยต่อคนมากที่สุดคือ 31,000 หยวน ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจและหาข้อเท็จจริงว่าเป็นเพราะเหตุใด จากปัจจัยที่สนับสนุนว่าจีนกลายเป็นประเทศผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอัจฉริยะใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อเร็วๆนี้ จึงพบว่า ในปี 2012 มีครัวเรือนเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบปฏิบัติการประยุกต์ และการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบอัจฉริยะมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว การบริโภคจับจ่ายทางอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของคนจีน และก็กลายเป็นวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งที่กระตุ้นความต้องการภายในประเทศ แม้กระทั่งเมืองที่อยู่ห่างไกล และไม่ใช่เมืองระดับเอหรือบี ยังมีสถิติการซื้อของทางอินเตอร์เนตที่สูงเช่นกัน การซื้อของออนไลน์มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวันของชาวจีน นอกจากนี้ ยังพบว่า นอกจากการซื้อของทางอินเตอร์เน็ตแล้ว การประยุกต์เข้ากับชีวิตประจำวัน เช่น การจ่ายค่าไฟค่าน้ำ และการคืนเงินเครติดการ์ด ก็นับวันมีมากขึ้น ปี 2012 ผ จือฟู่เป่าระบุว่ามีการจ่ายค่าไฟค่าน้ำและการคืนเงินเครติดการ์ดโดยผ่านจือฟู้เป่ามีมากกว่า 10 ล้านครัวเรือน ฉะนั้นจึงพูดได้ว่า อินเตอร์เน็ตไม่เพียงแต่เป็นเวทีรับรู้ข้อมูลข่าวสารเท่านั้น หากยังกลายเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ และได้ผสมผสานกลมกลืนกับชีวิตประจำวันของประชาชนจีนไปแล้ว 
โดย ยุพิน คล้ายมนต์

ซีอาน: เขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ระดับชาติของจีน


ซีอาน เป็นนครทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้ชื่อว่าเป็นเมืองโบราณลำดับหนึ่งของจีนและ ยังเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมซึ่งเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วโลก นอกจากนี้ซีอานยังเป็นเขตการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใหญ่เป็นลำดับสามของจีนรองจากมหานครปักกิ่งและมหานครเซี่ยงไฮ้ หลังจากที่อุตสาหกรรมซอฟแวร์และ Outsourcing[1] จากทั่วโลกมีการโยกย้ายฐานมาจีน ญี่ปุ่นได้บุกเบิกและเริ่มเข้ามามีบทบาทด้านซอฟแวร์ตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของจีน เช่น ซีอานและต้าเหลียน โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ทำให้อุตสาหกรรมซอฟแวร์ที่เป็นความร่วมมือระยะยาวระหว่างจีนและญี่ปุ่นในซีอานมีเพิ่มมากขึ้น จากสถิติปี 2551 วิสาหกิจซอฟแวร์และ Outsourcing บนความร่วมมือระหว่างซีอานและญี่ปุ่นมีมากกว่า 50 บริษัท เช่น FUJITSU , NEC , NTTData , Renesas , Yokogawa , ABeam และ SORUN  มีพนักงานกว่า 6,000 คน และสร้างรายได้จากการส่งออกราว 40 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ นิคมอุตสาหกรรมซีอานซอฟแวร์ (Xi’an Software Park) ตั้งอยู่ในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงแห่งนครซีอาน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เขตซีอานเกาซิน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นเขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ และส่วนที่สองเป็นเขต Outsourcing Services นอกจากนี้ยังมีศูนย์ฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและภาษาจำนวนมากบนพื้นที่กว่า 1,000 ตารางเมตร ทางการจีนได้วางแผนที่จะให้นิคมอุตสาหกรรมซีอานซอฟแวร์กลายเป็นเขตอุตสาหกรรมซอฟแวร์ระดับชาติ เขตส่งออกซอฟแวร์ระดับชาติ และเขตสาธิต Outsourcing Services ระดับชาติ  โดยมีเป้าหมายในการพัฒนานิคมฯแห่งนี้ ให้เป็น เขตซอฟแวร์และ Outsourcing services ชั้นแนวหน้าของโลก  รวมถึงกลายเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีนวัตกรรมที่ทันสมัย มีผู้เชี่ยวชาญระดับสูง และเป็นเขตอุตสาหกรรมโดดเด่นที่สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจให้กับนครซีอานภายในปี พ.ศ. 2563 นครซีอานมีความได้เปรียบด้านต้นทุนของบุคลากร ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญของวงการ Outsourcing ซีอานมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านIT จำนวนมากและมีต้นทุนต่ำ จึงทำให้วิสาหกิจด้าน Outsourcing หลายบริษัทเลือกที่จะตั้งฐานในซีอานเป็นปัจจัยสำคัญ ซีอานมีองค์กรที่พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่า 3,000 แห่ง และมีบุคลากรที่ชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกว่า 400,000 คน อีกทั้งมีนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและระดับอุดมศึกษาด้าน IT รองรับอีกจำนวนมาก จากผลการสำรวจของศูนย์วิจัยการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตของจีนระบุว่า ต้นทุนของอัตราการจ้างพนักงานด้านคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ในนครซีอานโดยเฉลี่ย ต่ำกว่ากวางโจวร้อยละ 19.9 ต่ำกว่าเซี่ยงไฮ้ร้อยละ 27.6 ปักกิ่งร้อยละ 29.6 และต้าเหลียนร้อยละ 17.9  ซีอานมีปัจจัยหนุนในการพัฒนาเพราะ มีสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่า 100 แห่ง องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยที่สำคัญกว่า 700 แห่ง มีสถาบันวิจัยและห้องทดลองระดับประเทศ รวมถึงศูนย์วิเคราะห์และวัดมาตรฐานถึง 120 แห่ง ปัจจุบัน ซีอานมีเขตวิทยาศาสตร์และการวิจัยระดับชาติรวม 9 แห่ง ซีอานมีปัจจัยหนุนในการพัฒนาเพราะ มีสถาบันการศึกษาระดับสูงกว่า 100 แห่ง องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยที่สำคัญกว่า 700 แห่ง มีสถาบันวิจัยและห้องทดลองระดับประเทศ รวมถึงศูนย์วิเคราะห์และวัดมาตรฐานถึง 120 แห่ง ปัจจุบัน ซีอานมีเขตวิทยาศาสตร์และการวิจัยระดับชาติรวม 9 แห่ง นอกจากนี้ซีอานยังเป็นแหล่งรวมของกลุ่มวิสาหกิจด้านซอฟแวร์ที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ อาทิ เช่น สหรัฐอเมริกา ได้แก่ บริษัท SPSS , Sybase , Emerson , HD และ HOV  เยอรมัน ได้แก่ บริษัท Infineon แคนาดา ได้แก่ บริษัท Nortel Network ญี่ปุ่น ได้แก่ FUJITSU , NEC และ NTTData ไต้หวัน ได้แก่ บริษัทซีอานหลิงอานคอมพิวเตอร์ (凌安电脑) และ บริษัท Advantech (研华科技) ฮ่องกง ได้แก่ บริษัท Yulong Communications (宇龙通) ส่วนจีน ได้แก่ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด (华为) , Ufida (用友软件) , Kingdee (金蝶软件) , Digital China (神州数码) , Ourgame (联众世界) , Longcheer (龙旗控股) , Baosight (宝信软件) และที่สำคัญคือ ซีอานมีการเติบโตด้านรายได้และการส่งออกซอฟแวร์และ Outsourcing Services ที่รวดเร็ว
เมืองแห่งเขต Outsourcing ของจีน” รุ่นที่ 1 มีทั้งหมด 5 เมือง ได้แก่ ซีอาน เฉิงตู เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น และต้าเหลียน ซึ่งเป็นการจัดตั้งและพิจารณาผลร่วมกันของ 3 กระทรวงของจีน คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และกระทรวงพาณิชย์ ส่วน “เมืองสาธิต Outsourcing ของจีน” มีทั้งหมด 20 เมือง ได้แก่ ซีอาน เฉิงตู เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น ต้าเหลียน ปักกิ่ง เทียนจิน ฉงชิ่ง กวางโจว อู่ฮั่น ฮาร์บิน นานกิง จี่หนาน หางโจว เหอเฝย หนานชาง ฉางซา ต้าชิ่ง ซูโจวและอู๋ซี ประกาศเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2552 โดยสำนักงานคณะรัฐมนตรีของจีน


แหล่งข้อมูล:
หนังสือพิมพ์ Xi’an Evening News ฉบับวันที่ 31 มีนาคม 2552 , 10 เมษายน 2552 , 4  มิถุนายน 2552 และ 22 กรกฎาคม 2552



[1] Outsourcing หมายถึง การให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาบริหารจัดการหรือปฏิบัติการบางส่วน หรือบริหารด้าน IT ขององค์กรทั้งหมด โดยมีระดับการบริการ ค่าธรรมเนียม และระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ปัจจุบัน ประเทศที่เป็นศูนย์กลางของธุรกิจ Outsourcing คือ อินเดีย จีนและมาเลเซีย สาเหตุที่ต้องจ้างคนอื่นมาทำ เนื่องจากองค์กรไม่พร้อมที่จะใช้ทรัพยากรภายในที่มีอยู่ทำงานนั้นด้วยตัวเอง และงานด้านระบบสารสนเทศหรือ IT  จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงการใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ที่มีประสิทธิภาพและความเร็วสูง ถ้าลงทุนทำเองทั้งหมดต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนไม่น้อย ดังนั้นทางเลือกหนึ่งก็คือ การจ้างให้คนอื่นทำแทน เพราะนอกจากจะลดต้นทุนการดำเนินงานแล้ว ยังสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายที่แน่นอนได้และไม่ต้องรับภาระการจ้างพนักงาน 

ชาวไซเบอร์จีน -- สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่


What a year for China in 2012 -- what about next year?
By Kristie Lu Stout, CNN
December 14, 2012 -- Updated 0335 GMT (1135 HKT)

China is forecast to overtake the U.S. in smartphone shipments and become the world’s leading smartphone market.
China's Smartphone Boom
China, the world's biggest Internet market, is forecast to overtake the U.S. in smartphone shipments and become the world's leading smartphone market this year, according to research group IDC.
With some retailing for as low as $160, China's cheap smartphones will make a huge social impact through China. According to Josh Ong, China Editor of The Next Web: "It's becoming more and more possible for Chinese consumers to skip bulky desktops or even laptops and netbooks and rely solely on their phones as their primary computing devices. Students, migrant workers, and even rural citizens stand to benefit greatly from the rise of affordable smartphones."
As more Chinese venture online (and on microblogs) via their smartphones, there will be greater public outcry and protest, as well as greater pressure on the government to manage the added censorship load.
"We have seen the beginnings of a digital accountability system. If nearly everyone has the means to record and instantaneously broadcast their surroundings, it will keep most people from acting out," says Ong.
สถานการณ์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรศัพท์มือถือ ของจีนในปี 2012 และที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า (2013) จากบทความของ CNN เรื่อง What a year for China in 2012 -- what about next year? โดย  Kristie Lu Stout นั้น สอดคล้องกับบทความ เรื่อง ชาวไซเบอร์จีนพุ่งถึง 564 ล้านคน – สะท้อนพฤติกรรมบริโภคยุคใหม่ จากศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจีน (CNNIC) ซึ่งได้เปิดเผยรายงานแนวโน้มการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของจีนครั้งที่ 31 โดยระบุว่า จนถึงสิ้นปี 2555 จำนวนประชากรผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของจีนได้ทะลุ 564 ล้านคน โดยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มใหม่ในปี 2555 ทั้งสิ้น 51.9 ล้านคน จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ผ่านโทรศัพท์มือถือของจีนทะลุ 420 ล้านคน ครองสัดส่วนร้อยละ 74.5 ของจำนวนรวมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจีน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของจีนส่วนใหญ่แล้วมีอายุระหว่าง10 -39 ปี แต่จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีอายุ 40 ขึ้นไปมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้ใช้ Weibo พุ่งถึง 309 ล้านคน เพิ่มขึ้น 58.73 ล้านคนจากปี 2554 ครองสัดส่วนร้อยละ 54.7 ของจำนวนรวมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของจีน และร้อยละ 65.6 ของผู้ใช้ Weibo เล่น Weibo ด้วยโทรศัพท์มือถือ (หมายเหตุ : Weibo เป็นเว็บไซต์ Social Media ยอดนิยมในประเทศจีน ) ผู้บริโภคออนไลน์ของจีนในปี 2555 มีทั้งสิ้นกว่า 242 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.8 จากปี 2554 โดยการค้าออนไลน์แบบการรวมกลุ่มซื้อของ (团购:ถวนโก้ว Group Buying) มีอัตรการเติบโตที่น่าสนใจ จำนวนผู้บริโภคแบบ ถวนโก้วของจีนในปี 2555 มีทั้งสิ้นกว่า 83.27 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 จากปี 2554 “ถวนโก้วได้กลายเป็นรูปแบบการบริโภคที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคจีน ธุรกรรมออนไลน์ที่ผ่านโทรศัพท์มือถือมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้บริโภคจีนที่ซื้อของออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือในปี 2555 เพิ่ม 1.36 เท่าจากปี 2554 นอกจากนี้ จำนวนผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จำนวนผู้ชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ธุรกรรมออนไลน์ที่ผ่านโทรศัพท์มือถือมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้บริโภคจีนที่ซื้อของออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือในปี 2555 เพิ่ม 1.36 เท่าจากปี 2554 นอกจากนี้ จำนวนผู้ใช้บริการธนาคารออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จำนวนผู้ชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากบทความทั้งสองดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสังคมจีนกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากและได้สร้างช่องทางการค้า การประชาสัมพันธ์และการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น  การทำธุรกิจหน้าคอมพิวเตอร์ และจำหน่ายสินค้าให้ลูกค้าจีนโดยผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในซีกโลกตะวันตก และยังมีการคาดการณ์อีกว่าธุรกิจทางโทรศัพท์มือถือของจีนจะนำหน้าสหรัฐอเมริกาและจะเป็นผู้นำของตลาดมือถือโลกในอนาคตอันใกล้ๆนี้
โดย ยุพิน คล้ายมนต์ / 23 มค. 2556

ภาษาจีนกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)


เมื่อถึงยุคการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2558 นั้น ประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ อันได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม  การเตรียมความพร้อมในเรื่องภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร คงต้องมีมากขึ้น คาดว่าสภาพการณ์เมื่อรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว จะมีการแข่งขันสูงขึ้น สภาพสังคมจะมีวัฒนธรรมต่างๆ ที่หลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น ความพร้อมในเรื่องภาษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรคำนึงถึงเพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
ภาษาจีนเป็นหนึ่งในภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดในโลก จากข้อมูลของ Ethnologue 16th edition ในปี 2009 คือ มีจำนวนประชากรที่พูดภาษาจีนกลาง ถึง 1,213 ล้านคน รองลงมาเป็น สเปน มีประมาณ 329 ล้านคน และภาษาอังกฤษ ประมาณ 328 ล้านคน ในขณะที่ UNESCO ระบุว่า ภาษาจีนเป็นภาษาที่มีคนผู้มากที่สุด รองลงมาคือ ภาษาอังกฤษ และ สเปน ตามลำดับ ภาษาสำคัญที่ถูกกำหนดให้ใช้ในองค์การสหประชาชาติ คือ ภาษาจีนกลาง อังกฤษ สเปน อาหรับ รัสเซีย และฝรั่งเศส จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่าภาษาจีนเป็นภาษาสำคัญภาษาหนึ่งที่มีคนพูดมากที่สุดในโลกและได้รับการยอมรับให้ใช้ในองค์การสหประชาชาติ ในฐานะที่เป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้ในการสื่อสารระหว่างกันในโลกปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามกฎบัตรอาเซียน ข้อที่ 34 ได้กำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการทำงานของอาเซียน ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาสำคัญเมื่อประเทศเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพราะไม่ว่าคนของแต่ละประเทศจะพูดภาษาอะไรเป็นภาษาราชการหรือภาษาประจำชาติอะไรก็ตาม เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก แต่จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ภาษาจีนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและหลายประเทศหันมาสนใจศึกษามากขึ้น จากข้อมูลของ Internet World Stats ระบุว่า ในปี 2011 คนใช้ภาษาจีนบนอินเตอร์เน็ต มากถึง 510 ล้านคน เป็นรองแค่เว็บไซต์ของคนใช้ภาษาอังกฤษซึ่งมีมากกว่า 565 ล้านคน ตัวเลขรวมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ใช้ภาษาจีนนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยอัตราเกือบ 15 เท่า ภายใน 11 ปี [1]ดังนั้นนอกจากให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษแล้ว ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับภาษาจีนซึ่งในหลายประเทศได้กำหนดให้ภาษาจีนกลายเป็นหนึ่งในวิชาบังคับที่นักเรียนได้เรียนในโรงเรียน เช่น ปากีสถาน สวีเดน หรือแม้กระทั่งสหรัฐอเมริกา จำนวนโรงเรียนทั้งรัฐบาลและเอกชนที่เปิดสอนภาษาจีนเพิ่มขึ้นจาก 300 แห่ง เป็น 1,600 แห่ง ภายในเวลา 10 ปี สำหรับประเทศไทยแล้วการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้รับการสนับสนุนให้เป็นหนึ่งในวิชาบังคับที่มีสอนในโรงเรียนรัฐและเอกชนมานานแล้ว แต่อย่างไรก็ตามจุดอ่อนของไทยก็ยังคงเป็นเรื่องการที่ยังไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในเวทีต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษทางธุรกิจ การค้า การบริการ การท่องเที่ยว การแพทย์ และอื่นๆ ซึ่งถือว่ายังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียน เช่น สิงคโปร์  มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ มองย้อนกลับมาที่พัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย น่าจะเป็นเรื่องที่แตกต่างกับการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิงในห้าทศวรรษที่ผ่านมา การส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในไทยที่ผ่านมา รัฐบาลสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษอย่างกว้างขวางในประเทศไทย ในการกลับกันการเรียนการสอนภาษาจีนเพิ่งได้รับการสนับสนุนเมื่อไม่นานมานี้เอง ทั้งหลายทั้งปวงเกี่ยวข้องกับการปกครองในอดีตที่สองประเทศยึดระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน ประเทศไทยปกครองระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่จีนปกครองแบบสังคมนิยม ที่เรามักเรียกว่า จีนคอมมิวนิสต์ใน 50 ปีที่แล้ว การที่จีนปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยยอมรับไม่ได้ และตัดสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศต่อกัน แม้ทั่งโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนภาษาจีน ยังถูกควบคุม บางแห่งต้องหยุดสอน บางแห่งต้องแอบสอนตอนกลางคืน จนเกิดสำนวนเรียบร้อยโรงเรียนจีนเกิดขึ้น ผลกระทบนี้เห็นชัดเจนในเมืองหลวง เช่น กรุงเทพและปริมณฑล หากพิจารณาการเรียนการสอนภาษาจีนที่ต่อเนื่องและมีคุณภาพใน 50 ปีที่ผ่านมา เมืองที่ห่างไกลการปกครองของรัฐในขณะนั้น จะเป็นโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนภาษาจีนต่อเนื่อง และมีคุณภาพมากกว่าในกรุงเทพฯ ตัวอย่างเช่น โรงเรียนแสงทอง ที่หาดใหญ่ เป็นต้น เรื่องราวและประวัติการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยมีมายาวนาน ตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์  จากข้อความตอนหนึ่งกล่าวเกี่ยวกับพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในไทยว่า ภาษาจีนไม่เคยมีบทบาทคุณค่าในฐานะของศาสตร์ศิลป์ภาษาที่บริสุทธิ์ หากการกำหนดบทบาทคุณค่านี้ เสมือนการเริ่มต้น ก็กล่าวได้ว่า การเริ่มต้นที่ดี (ย่อมสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง) ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ดังนั้น ก้าวขั้นต่อๆไปของการเรียนการสอน จึงมิได้ยืนอยู่บนพื้นฐานปรัชญาที่ดี ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาด้านนี้[2] พัฒนาการการเรียนการสอนภาษาจีนในไทยเป็นเรื่องยาวนานและน่าสนใจ โดยเฉพาะประเด็นว่าเหตุใด ภาษาจีนจึงมีคนไทยอ่านออก เขียนได้ น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ทั้งๆที่ภาษาไทยกับภาษาจีนมีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นโอกาสที่คนไทยจะเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีนก็มีมากกว่าภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาและวัฒนธรรมตะวันตกที่เราไม่คุ้นเคยและไกลตัว  อาทิเช่น ในประเด็นของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ แตกต่างจากไทยมาก โดยเฉพาะเรื่องกาล คือ มี Tense  กริยาของประโยคต้องเปลี่ยนไปตามกาล คือ มีปัจจุบัน อดีต และ อนาคต ในขณะที่ภาษาจีนไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่กริยาของประโยค ไม่ว่าคุณจะกล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อไรก็ตาม และภาษาจีนยังเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาไทย อย่างไรก็ดีภาษาจีนมีแนวโน้มที่จะทวีความสำคัญมากขึ้น ทั่วโลกเปิดรับการใช้ภาษาจีนมากขึ้น อาเซียนก็เช่นเดียวกัน การเตรียมความพร้อมให้ประชากรในประเทศ หรือกลุ่มประเทศในอาเซียน มีทักษะที่พร้อมใช้ภาษาจีนทันทีที่เศรษฐกิจของจีนนำหน้ายักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาได้ในที่สุด  น่าจะเป็นประเด็นที่นำมางบคิดว่า ภาษาอังกฤษ จะเป็นเพียง ภาษาเดียวที่ใช้ในการสื่อสารของอาเซียนหรือ ? จะเป็นภาษาจีนได้ไหม เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก?


[1] จิราวดี รัตนไพฑูรย์ชัยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD)
[2]*รวบรวมเก็บความจากประวัติการเรียนการสอนภาษจีนในประเทศไทยโดยสังเขปรายงานการสอนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับประถม มัธยมศึกษา ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กันยายน 2551